ข่าวดีสำหรับน้องๆ มัธยมศึกษา วิทยาลัยเทคนิค และอาชีวะศึกษา

โพสต์17 มี.ค. 2561 08:44โดยNisit Pukrongta   [ อัปเดต 6 เม.ย. 2561 22:02 ]

โครงการค่ายวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์เชิงปฏิบัติการเรียนรู้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 

Link สมัคร........ https://goo.gl/JwVFjd

หลักการและเหตุผล

"ประเทศไทย 4.0" หรือ "Thailand 4.0" เป็นแนวทางใหม่ที่จะเริ่มขับเคลื่อนประเทศไปสู่ยุคแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่ หรือยุคที่ 4 ไปพร้อมๆ กับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป  "Thailand 4.0" จะดำเนินการผ่านกลไกสำคัญ 3 ด้าน คือ กลไกแรก เน้นการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้โดดเด่นบนเวทีโลก (Competitive Growth Engine) เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างการหารายได้ของประเทศ ของธุรกิจและของประชาชนจากการทำงานมากได้เงินน้อย มาเป็นการทำงานน้อยแต่ได้เงินมาก โดยการเติมเต็มปัญญา เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Economy) ผ่านผู้ประกอบการที่เน้นการขับเคลื่อนธุรกิจโดยเน้นนวัตกรรม (Innovation Driven Entrepreneur หรือ IDE) สำหรับ กลไกที่สอง เน้นการกระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมในสังคมและเศรษฐกิจ (Inclusive Growth Engine) เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างการแบ่งปันรายได้ของภาคส่วนต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยจากการรวยกระจุกเป็นรวยกระจาย โดยส่งเสริมการกระจายรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทุกภาคส่วน ทุกพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อนำไปสู่ "สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน" (Inclusive Society) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ต้องการขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ของคนไทย และ กลไกสุดท้าย เน้นการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth Engine) เพื่อเปลี่ยนจากการพัฒนาไม่สมดุลที่สร้างปัญหากับสิ่งแวดล้อม เป็นการพัฒนาที่สมดุลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งการดูแล เยียวยาฟื้นฟู และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมไทย เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนผ่านการส่งเสริมธุรกิจสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Business) ให้มีมากขึ้นเพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียวที่ดูแลสิ่งแวดล้อม (Green Economy) ตามกระแสโลกที่ปรับตัวให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น

     ดังนั้น "Thailand 4.0" จึงเป็นการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจผ่านการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Science Technology and Innovation : STI) การวิจัยและการพัฒนา (R&D) และการปฏิรูปการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ตลอดจนแรงงานไปพร้อม ๆ กัน เพื่อสร้างกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม หรือ S-Curve Industries โดยอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเติบโต มีฐานการผลิตที่แข็งแรง แต่ต้องต่อยอดการลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยใช้ STI และ R&D เพื่อยกอุตสาหกรรมกลุ่มนี้สู่อุตสาหกรรมในระดับนานาชาติ ซึ่งอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สำคัญ ในการพัฒนาเพื่อมุ่งเป้าหมายสู่การแข่งขันในเวทีการค้าโลก ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในรถยนต์  อุตสาหกรรมโทรคมนาคม  ที่อยู่อาศัยอัจฉริยะซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสวมใส่ และอุปกรณ์ประมวลผลต้นทุนต่ำ และต่อยอดด้านชุดคำสั่ง เป็นต้น

     ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ตะหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดโครงการ ค่ายวิศวกรรมศาสตร์เชิงปฏิบัติการการเรียนรู้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะขึ้นเพื่อให้กับเยาวชนของชาติที่สนใจด้านวิศวกรรมศาสตร์ให้ได้รับความรู้และมุมมองด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะรวมไปถึงความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะมากยิ่งขึ้น

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย

1. แนะนำเทคโนโลยี IoT แนวโน้มและโอกาสในการพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างนวัตกรรม 

2. ทบทวนความรู้พื้นฐานและการโปรแกรมบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์

    - พื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์

    - เรียนรู้การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เช่น อุปกรณ์เซนเซอร์เข้ากับเครือข่าย

3. แนะนำ NETPIE และแนวคิดการพัฒนาด้วย Platform

    - หลักการทำงานของการรับส่งข้อมูลแบบ Publish/Subscribe

    - เรียนรู้ Microgear Library

    - เรียนรู้การบริหารจัดการแอปพลิเคชัน การยืนยันตัวตนและกำหนดสิทธิเพื่อใช้บริการ

4. เรียนรู้การพัฒนาอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันเพื่อใช้งานกับ NETPIE Platform

    - เรียนรู้การใช้งาน NETPIE Microgear Library กับฮาร์ดแวร์แพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Arduino, esp8266, NodeMCU ด้วยภาษาต่างๆ เช่น Nodejs,  Python, HTML5

    - เรียนรู้การใช้งาน NETPIE HTTP REST API

    - เรียนรู้การแสดงผลผ่านทาง Dashboard เช่น Freeboard

 

หลังเข้าร่วม Workshop ควรมีความรู้ความเข้าใจดังนี้ :

        - รู้จักและเข้าใจว่า IoT คืออะไรและนำไปใช้อะไรได้บ้าง

        - สามารถใช้งานอุปกรณ์ที่นิยมนำมาใช้กับงาน IoT เช่น Raspberry Pi, Arduino เป็นต้น

        - สามารถสร้าง IoT แบบง่ายๆ ได้

        - เข้าใจการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ (Device Communication) แบบต่างๆ

Comments